ความรู้เรื่องโครงหลังคารถยนต์
การประเมินราคา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาของตัวหลังคาแบ่งได้
3 ส่วนหลักคือ
1. ความสูงของโครงหลังคา
ต้องการความสูงเท่าไหร่ ตามมาตรฐานทั่วไป ความสูงของหลังคาวัดจากพื้น กระบะ 180 เซนติเมตร (1.8 เมตร)
2. วัสดุที่ใช้ทำ แบ่งออกได้ 3 ชนิดหลักๆ คือ
2.1 พลาสวู๊ด
เป็นแผ่นพีวีซีชนิดแข็ง มาตรฐานความหนาของแผ่น x mm
2.2
อลูมิเนียม เป็นระบบยิงกาวทั้งคัน มาตรฐานความหนาของอลูมิเนียม 1 mm (เบอร์ 19)
2.3 ผ้าใบ +
ลวดตะแกรง
3. อุปกรณ์เพิ่มเติม
และลักษณะพิเศษอื่นๆ ได้แก่ จำนวนประตู ไฟท้าย ไฟเพดาน พ่นสี กระจกท้าย กระจกข้าง
ถอดกระบะ อื่นๆ
ความรู้ในการสั่งโครงหลังคารถ
1. ระบุ
ยี่ห้อ + รุ่น ของรถที่จะนำมาติดตั้ง กรณีเป็นรถเก่า อายุการใช้งานมากกว่า 1-2 ปี จำเป็นต้องนำรถเข้ามาวัดความฉีกของกระบะตามการใช้งาน ประมาณ 10-15 นาที
2. ต้องการความสูงเท่าไหร่วัดจากพื้นกระบะ
ต้องการวัสดุชนิดใด และต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือลักษณะพิเศษอื่นใด
3. อนุมัติใบเสนอราคาของทางร้าน
พร้อมทั้งมัดจำเป็นจำนวน 40% ของราคาสินค้า
(โดยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร)
4. ใช้เวลาในการผลิต
เป็นเวลาโดยประมาณ 7 วัน นับจากวันที่ชำระเงินมัดจำ
(ไม่จำเป็นต้องนำรถมาทิ้งไว้ที่ร้านในระหว่างเวลาทำการผลิต)
ความสูงของหลังคา
ตาม
พรบ.การขนส่งทางบก รถกระบะวัดความสูงจากพื้นรวมหลังคาแล้ว มีความสูงได้ 3.80 เมตร หากมีความกว้างไม่เกิน 2.30 เมตร
ให้มีความสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร
ข้อควรรู้ก่อนการติดตั้งหลังคารถ
ตาม
พรบ.การขนส่งทางบก ในการติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็ก ลงบนตัวรถ
ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนหนึ่งส่วนใดให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้
เจ้าของรถจะต้อง นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อขอแก้ไขรายการในใบคู่มือจดทะเบียนรถ(อาจมีการเสียภาษีเพิ่ม) ยังสำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนไว้
พร้อมหลักฐานได้แก่
1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
2. ใบเสร็จค่าติดตั้ง
โครงหลังคาหรือโครงเหล็ก
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
กรณีจดทะเบียนในนามนิติบุคคลให้ใช้
หนังสือรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และจะต้องพกใบคู่มือการจดทะเบียนรถ
ไว้กับตัวรถเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ด้วย ซึ่งหากไม่แก้ไขรายการในใบจดทะเบียน
จะมีความผิดฐานใช้รถผิดประเภทไปจากรายการที่จดทะเบียน ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น